หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่าสกรีนจนคุ้นแล้ว แต่อาจจะยังไม่เข้าใจว่าวิธีสกรีนคืออะไร และมีขั้นตอนในการทำอย่างไร วันนี้ WKS GARMENT (ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อผ้า ชุดยูนิฟอร์ม เสื้อกราวน์ ชุดพละนักเรียน ชุดกีฬาสี ชุดฟุตบอล) จะมาอธิบายให้ฟังค่ะ
วิธีสกรีนเสื้อที่ได้รับความนิยมในตอนนี้มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. วิธีสกรีนแบบบล็อคสกรีน (Silk Screen)
2. วิธีสกรีนแบบรีดด้วยความร้อน (Heat Transfer) สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี ที่เป็นนิยมได้อีก คือ โพลีเฟล็กซ์ และซับลิเมชั่น
3. วิธีพิมพ์งานลงบนเรื้อผ้าโดยตรง ( DTG : Direct to garment)
" ในวันนี้ เราขอพูดถึงเฉพาะ "วิธีสกรีนแบบบล็อคสกรีน (Silk Screen)" ก่อนนะคะ "
วิธีสกรีนแบบบล็อคสกรีน (Silk Screen)
วิธีนี้เป็นวิธีที่มีมานานกว่าวิธีสกรีนแบบรีดด้วยความร้อน และ วิธีพิมพ์งานลงบนเนื้อผ้าโดยตรง วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ข้อดี ขั้นตอนการทำงานง่าย ต้นทุนไม่สูง สีติดทนนาน ใช้ได้กับผ้าเกือบทุกชนิด และใช้ได้กับผ้าสีเข้มและสีอ่อน
ข้อเสีย ไม่เหมาะกับงานจำนวนน้อย งานที่มีลายยาก หรืองานสกรีนหลายสี เพราะวิธีการนี้ต้องใช้ 1 บล็อคต่อ 1 สี เท่านั้น
วิธีนี้เหมาะกับ งานที่ไม่ได้เน้นความละเอียดสูง งานจำนวนมาก งานที่สีสกรีน
วิธีนี้ไม่เหมาะกับ งานที่ต้องการความละเอียดสูง งานที่มีตัวหนังสือขนาดเล็ก งานที่ต้องใช้สีหลายสี เช่น 4 สีขึ้นไป และงานจำนวนน้อย เพระาไม่คุ้มต้นทุนการทำบล็อค
ขั้นตอนการสกรีนแบบบล็อคสกรีน (Silk Screen)
1. ขั้นตอนถ่ายบล็อคสกรีน
1.1 ออกแบบลายที่เราต้องการ จากนั้นพิมพ์ลงกระดาษไข
1.2 นำบล็อคที่เราได้เตรียมไว้สำหรับอัดลายมาว่าลงบนกระดาษไขที่เตรียมไว้และทำการถ่ายบล็อค
1.3 เมื่อถ่ายบล็อคเสร็จ ก็นำบล็อคไปล้างส่วนที่เราไม่ต้องการออกไป
1.4 ตากบล็อคให้แห้ง และตรวจสอบว่าบล็อคมีส่วนไหนที่ต้องแก้ไขหรือไม่
2. ขั้นตอนเตรียมสีและแปรงปาดสี
2.1 คนสีที่สกรีนให้เนื้อเนียน ไม่มีก้อนสีหรือสิ่งแปลกปลอมอยู่ในสี โดยสีที่ดีต้องมีลักษณะไม่เหลวหรือข้นเกินไป
2.2 ทำความสะอาดแปรงปาดให้เรียบร้อย ผิวแปรงควรเรียบเสมอกัน และไม่ควรมีเศษสีเก่าติดอยู่
3. ขั้นตอนสกรีน
3.1 นำเสื้อที่เราต้องการสกรีนมาสวมลงบนโต๊ะสกรีน
3.2 ตักสีใส่บล็อค และนำบล็อควางลงบนงาน พร้อมกับกะระยะที่เราต้องการ
3.3 ปาดสีโดยควรใช้แรงเท่าๆกันในการปาด เพื่อให้สีลงสม่ำเสมอ
3.4 นำเสื้อที่สกรีนแล้วไปตากให้แห้ง หากงานสกรีนที่ได้มีสีซีดหรือจืด สามารถนำมาสกรีนซ้ำอีกรอบได้
Comments